E-Commerce
คู่มือพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ วางแผนก่อนเริ่มต้นขายออนไลน์ให้ร้านโตไว ยอดขายปัง
การเริ่มต้นขายออนไลน์ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเติบโตอย่างมั่นคงต้องอาศัยการวางแผนที่ดี เราชวนพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่มาวางแผนก่อนออกสตาร์ท กับคู่มือเริ่มต้นขายของออนไลน์ ตั้งแต่หลักการเลือกสินค้า ไปจนถึงการวางแผนระบบหลังบ้าน
Avatar
Min Natjanan
 • 17 March 2023
คู่มือพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ วางแผนก่อนเริ่มต้นขายออนไลน์ให้ร้านโตไว ยอดขายปัง

ในยุคที่ไม่ว่าใครก็อยากมีอาชีพที่ 2 และ 3 “ธุรกิจออนไลน์” กลายเป็นอีกอาชีพยอดฮิตที่ทั้งคนทำงานประจำ หรือคนทำอาชีพอิสระให้ความสนใจ เพราะเชื่อว่าสามารถแบ่งเวลาจากการทำงานอื่นมาดูแลร้านค้าออนไลน์ได้ไม่ยาก

การเริ่มต้นขายออนไลน์ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเติบโตอย่างมั่นคงต้องอาศัยการวางแผนที่ดี เราชวนพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่มาวางแผนก่อนออกสตาร์ท กับคู่มือเริ่มต้นขายของออนไลน์ ตั้งแต่หลักการเลือกสินค้า ไปจนถึงการวางแผนระบบหลังบ้าน

เลือกขายสินค้าที่คนนิยมซื้อออนไลน์

Blog - คู่มือเริ่มต้นขายของออนไลน์ 1.jpg

สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ การจะเริ่มต้นเปิดร้านเพื่อขายอะไรสักอย่างนั้นไม่ใช่
เรื่องง่ายนัก หลายคนมักมีข้อสงสัยว่า “แล้วจะเริ่มขายอะไรถึงจะดี” นอกจากความชอบหรือความถนัดส่วนตัวของคนขายแล้ว การเลือกประเภทสินค้าสำหรับขายออนไลน์ยังต้องใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจหลายส่วน เช่น สินค้าแบบไหนที่เมื่อคิดต้นทุนกำไรออกมาแล้วคุ้มค่าที่สุด มีการขนส่งที่ไม่ยากจนเกินไป สามารถรับวัตถุดิบหรือรับสินค้าจากต้นทางได้ไม่ยาก และที่สำคัญคือ สินค้าอะไรบ้างที่หากอยู่บนช่องทางออนไลน์แล้วคนจะนิยมซื้อ

โดยจากการศึกษาของ Statista เมื่อปี 2020 สามารถเรียงลำดับประเภทสินค้าที่คนไทยนิยมซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนี้

  • โทรศัพท์มือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • สินค้าแฟชั่น
  • ผลิตภัณฑ์ด้านความงาม
  • สินค้าไลฟ์สไตล์
  • ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • ของใช้ภายในบ้าน
  • ของเล่น
  • สินค้าสำหรับแม่และเด็ก
  • อุปกรณ์ยานยนต์
  • อุปกรณ์กีฬา

เรียนรู้การเพิ่ม value ให้สินค้าและแบรนด์

Blog - คู่มือเริ่มต้นขายของออนไลน์ 3.jpg

เมื่อเลือกสินค้าที่คิดว่าเหมาะกับการเริ่มขายออนไลน์ได้แล้ว ต่อมาคือร้านค้าต้องศึกษาตลาดของสินค้านั้นว่ามีคู่แข่งมากน้อยแค่ไหน แต่ละร้านมีจุดเด่นอะไร เพื่อนำมาวางแผนที่จะสร้างคุณค่า หรือ value ให้แบรนด์ของเราแตกต่างไปจากคู่แข่งจำนวนมหาศาลอยู่ในตลาด

การสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์นั้นขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า เช่น หากเป็นสินค้าแฟชั่น คือการทำให้ลูกค้าเห็นว่าเมื่อเขาสวมใส่แล้วจะรู้สึกมั่นใจกว่าเดิม หากเป็นผลิตภัณฑ์ด้านความงามอย่างเครื่องสำอาง สกินแคร์ ต้องสร้างความมั่นใจว่าลูกค้าสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องอาการแพ้ หรือไม่เห็นผล หากเป็นแบรนด์เครื่องประดับที่มักถูกซื้อให้เป็นของขวัญ ต้องทำให้สินค้าสามารถเล่าเรื่องราวที่น่าประทับใจ รวมทั้งเปิดให้ลูกค้าถ่ายทอดเรื่องราวของตัวเองลงไปได้

วางแผนช่องทางการขายและการตลาด

Blog - คู่มือเริ่มต้นขายของออนไลน์ 4.jpg

การขายของออนไลน์นั้นพ่วงมากับการอกแบบการสื่อสารอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในขั้นตอนของการศึกษาตลาดและแบรนด์คู่แข่ง คนที่เริ่มต้นขายของออนไลน์จึงควรศึกษาเรื่องช่องทางการขายที่แต่ละแบรนด์เลือกใช้ วิธีการสื่อสารของแบรนด์เหล่านั้น เช่น 

  • เสื้อผ้ามือสอง เหมาะกับการขายผ่าน IG Live แต่ลูกค้าที่สนใจเสื้อผ้ามีสองมีทั้งใน IG และ Facebook บางร้านค้าจึงเลือกทำการตลาดผ่านทั้ง 2 ช่องทาง
  • เครื่องประดับ จิวเวลรี่ เหมาะกับการขายผ่านเว็บ Marketplace แต่บางร้านค้าเลือกเปิด IG เพื่อลงรูปสินค้าสวยๆ และเปิด TikTok เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวหรือสตอรี่ของสินค้าแต่ละรุ่น รวมทั้งวิธีดูแลเครื่องประดับ

วางระบบการจัดการหลังบ้าน

ในการเริ่มต้นขายของออนไลน์ นอกจากเรื่องหน้าบ้านอย่างการทำการตลาดและวางขายสินค้าแล้ว ส่วนสำคัญที่ทำให้ร้านค้าประสบความสำเร็จในการขายก็คือการวางระบบหลังบ้านให้สามารถขายสินค้า ดูแลสต็อก จัดการออเดอร์ ไปจนถึงการจัดส่ง และบริการหลังการขายให้ราบรื่น เพราะนอกจากจะทำให้ลูกค้าได้ความประทับใจจากคุณภาพสินค้าและการบริการแล้ว ยังเป็นการช่วยทุ่นแรงให้ร้านค้าออนไลน์ที่ในช่วงแรกๆ ที่ยังมีพนักงานไม่เยอะ สามารถจัดการร้านได้สะดวก

พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่สามารถใช้งานระบบจัดการหลังบ้านร้านค้าออนไลน์ของ deeple ได้ฟรี ไม่จำกัดระยะเวลา โดยมีทั้งระบบรวมแชทจาก Facebook, LINE OA และ IG ระบบสต็อก ออเดอร์ที่ดูแลลูกค้าได้ตั้งแต่ทักแชทเข้ามาจนถึงการขนส่งสินค้า คลิก http://bit.ly/3koM7yw

ศึกษาการจดทะเบียนพานิชย์ และวางแผนภาษี

Blog - คู่มือเริ่มต้นขายของออนไลน์ 5.jpg

สำหรับคนขายของออนไลน์มือใหม่ อีกเรื่องที่จำเป็นต้องรู้ก่อนเริ่มขายของอย่างจริงจังก็คือร้านค้าต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และวางแผนภาษี ซึ่งประกอบไปด้วย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามรายละเอียดดังนี้

  • การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อยืนยันว่ามีธุรกิจนี้อยู่จริง โดยนำสำเนาบัตรประชาชนพร้อมกับเอกสารแบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์​ (แบบ ทพ.) พร้อมกับหลักฐานการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน (กรณีจดในนามนิติบุคคล) ไปยื่นที่สำนักงานเขต สำนักงานอบต. ในเขตพื้นที่ที่ประกอบธุรกิจ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเริ่มต้นเปิดร้านขายของออนไลน์
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในกรณีที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นำส่งภาษีวันที่ 15 ของทุกเดือน และออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้า
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนบริษัท โดยคิดจากรายได้สุทธิ (รายรับ-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน) แล้วนำไปคูณกับอัตราภาษีตามขั้นบันได โดยแม้ว่ารายได้จากการขายของออนไลน์จะไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี ก็ต้องยื่นภาษีเมื่อมีรายได้ 60,000 บาทขึ้นไปต่อปี
    ซึ่งสำหรับการยื่นภาษีเงินได้ของคนขายของออนไลน์แบบบุคคลธรรมดาจะต้องยื่น 2 รอบ คือ ภง.ด. 94 ยื่นรายได้ช่วงครึ่งปีแรก และ ภง.ด. 90 ยื่นรายได้ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ซึ่งใช้เกณฑ์การเก็บภาษีและลดหย่อนแบบเดียวกับบุคคลทั่วไป และสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 60% (แบบเหมา) หรือตามจริง (กรณีมีใบเสร็จแสดงค่าใช้จ่ายตามจริง)
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีที่มีการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน โดยคิดจากกำไรสุทธิ (รายได้-ค่าใช้จ่าย) ซึ่งหากมีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการงดเว้นภาษี และหากมากกว่านี้จะคิดภาษีตามขั้นบันไดคือ 15% (กำไรสุทธิ 300,001 – 3 ล้านบาท) และ 20% (กำไรสุทธิมากกว่า 3 ล้านบาท)

เห็นแบบนี้แล้ว ในการเริ่มต้นขายของออนไลน์ การวางแผนภาษีก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับส่วนอื่นๆ เลย ซึ่งทางที่ดีควรมีการจดรายรับ รายจ่าย ทั้งจากการขายออนไลน์รวมทั้งหน้าร้าน (ถ้ามี) เก็บใบเสร็จให้ดีเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และยื่นภาษีตรงเวลา เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการเก็บภาษีย้อนหลัง

ที่มาข้อมูล